แย้งเพิ่ม เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 20 เม.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ให้ผู้มีบารมีเข้ามาเป็นตัวกลางให้เจรจากับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกรัฐมนตรี เพื่อยุติความขัดแย้งและทำให้เศรษฐกิจเดินหน้า ว่า ขณะนี้กำลังคลี่คลายเหตุการณ์ไปตามลำดับ ซึ่งข้อเสนอที่จะให้มีการเดินหน้าเพื่อสร้างความปรองดองก็จะดำเนินการต่อไป บนความถูกต้อง ก็ยังไม่ทราบว่าที่เสนอจะให้มีการเจรจานั้นเป็นอย่างไร แต่หลักการที่ตนพูดไปนั้นชัดเจนว่าจะไปลบล้างคดีอาญานั้นทำไม่ได้และไม่ควร ทำ
เมื่อถามว่าข้อเสนอการให้นิรโทษกรรมเป็น 1 ในแผนการสร้างความปรองดองด้วยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในแง่ความผิดทางการเมืองนั้นอยู่ในกรอบที่สามารถเสนอมาเพื่อพิจารณาได้ แต่ก็ต้องดูถึงความเหมาะสม รูปแบบ วิธีการ เหตุและผลของมัน แต่คดีอาญานั้นคงไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่านายกฯ ยอมที่จะเจรจากับพ.ต.ท.ทักษิณ ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ใช่ เพราะยังไม่ทราบว่าจะไปเจรจาเรื่องอะไร เพราะรู้สึกว่าในส่วนที่พ.ต.ท.ทักษิณมีปัญหานั้นเป็นเรื่องของคดีอาญาทั้ง นั้น
"ผมยังนึกไม่ออกเลยว่ากรอบการเจรจากันนั้นคืออะไร แต่ยืนยันว่าจะคุยกับคนที่ต้องการเรียกร้องอยู่ในกรอบ ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ยุยงส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง"
เมื่อถามว่าจะกลายเป็นบรรทัดฐานหรือไม่ว่าคนที่ทำความผิดและสร้างความ ปั่นป่วนอาจไม่ต้องได้รับโทษ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ แต่เราต้องฟังเสียงของผู้ที่ไม่พอใจกับเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมา อย่างที่ตนได้พูดไว้ว่าอะไรที่พอมีเหตุผลก็นำมาพูดคุยกัน แต่เรื่องคดีอาญาทำไม่ได้ ส่วนความผิดทางการเมืองก็ต้องมาดูกันอีกครั้งว่ามีอะไรบ้าง และรูปแบบที่จะทำนั้นทำได้มากน้อยแค่ไหน เพียงแต่เมื่อตนเริ่มต้นกระบวนการดังกล่าวก็ต้องเปิดกว้างพอสมควร หากไปขีดเส้นไม่พูดเรื่องเหล่านี้เลยก็คงพูดกันยาก จึงต้องมาดูกันว่าความเป็นธรรมอยู่ตรงไหนอย่างไร
เมื่อถามว่ามีข่าวว่าพรรคร่วมรัฐบาลเสนอให้มีการเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ในกรอบใดบ้าง นายอภิสิทิ์ กล่าวว่า พรรคร่วมยังไม่มีการเสนอเข้ามา เมื่อถามย้ำว่าตอนนี้นายกฯ ถูกพรรคร่วมบีบอยู่ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวปฏิเสธว่า "ไม่หรอกครับ ผมมีอะไรก็ปรึกษาหารือทุกพรรค ซึ่งแต่ละพรรคก็ต้องมีจุดยืนและเสนอเข้ามา ตรงบ้างไม่ตรงบ้างก็เป็นเรื่องปกติ จากนั้นก็ต้องหาทางออกร่วมกัน "
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่เปิดประชุมร่วม 2 สภา แต่แนวโน้มดูจะมีแต่ความขัดแย้งมากกว่าการสร้างความปรองดอง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์วันนี้ ( 20 เม.ย.) ก็จะขอให้สมาชิกพรรคหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เวทีดังกล่าวไปทำให้เกิดความขัด แย้งมากขึ้น ความตั้งใจของตนคือต้องการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก รวมทั้งความคลางแคลงใจต่อเหตุการณ์หรือการตัดสินใจของรัฐบาล เขาก็สามารถที่จะนำเสนอและตรวจสอบเพื่อที่รัฐบาลจะได้ชี้แจงได้
"ประเด็นต่อมาคือการเดินไปข้างหน้าว่าจะทำอย่างไรที่ทุกฝ่ายจะมาช่วยกัน หาทางออกเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง และหากสมาชิกจะเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การบังคับใช้กฎหมาย ก็เป็นสิทธิ์ของสมาชิกแต่อยากให้ทุกฝ่ายมาประชุมเพื่อหาทางออกมากกว่าที่จะ มาทะเลาะกันซึ่งได้บอกกับทุกพรรคให้ไปบอกกับลูกพรรคแล้วว่าทำอย่างไรให้เวที นี้ไม่เติมความขัดแย้ง "นายกรัฐมนตรีระบุ
เมื่อถามว่าทางพรรคเพื่อไทยตั้งเงื่อนไขว่า หากจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมต้องคืนพรรคไทยรักไทยกลับคืนมาด้วย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ใครคิดจะเสนออะไรก็เสนอมา เราจะได้ทราบความต้องการที่แท้จริงของแต่ละฝ่ายว่าคืออะไร
ต่อข้อถามว่ากฎหมายนิรโทษกรรมในความหมายของนายกฯคืออะไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันนี้เรากำลังพูดถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและกการปฏิรูปการเมือง แต่ยังไม่มีการพูดถึงกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งถ้ายังมีใครติดใจเกี่ยวกับความผิดทางการเมืองที่ผ่านมาก็สามารถที่จะ เสนอมาได้ แต่ตนขีดเส้นไว้ว่าความผิดทางอาญาไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการไขปัญหาตรง นี้ได้ ส่วนความผิดทางการเมืองจะมีประเด็นอะไรบ้าง ใครคิดอย่างไรก็ให้เสนอมาเพื่อพิจารณาร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ของไทยรักไทยและสมาชิก 109 ของพรรคพลังประชาชน ที่เขาไม่ได้มีความผิดทางอาญาก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอเข้ามาได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เขามีสิทธิ์เสนอมา ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์เสนอมาได้ทั้งหมด ส่วนข้อยุติจะเป็นอย่างไรก็ต้องมาทำความเข้าใจ เหตุผลและหลักการ ข้อกฎหมายก็มาคุยกันอีกครั้ง
ผู้สื่อข่าวถามว่านายพีรพันธ์ พาลุสุข ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เสนอว่าควรจะมีการยกเลิกเรื่องต่างๆทั้งหมดเพราะหลังการรัฐประการ 19 กันยายน เป็นกระบวนการทางการเมืองทั้งหมด ทั้งเรื่องของ คตส.หรือคดีความต่างๆ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงจะไปสรุปอย่างนั้นไม่ได้
เมื่อถามว่าในส่วนของคนเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงที่มีคดีอาญาทั้งสองฝ่ายจะ ปรองดองกันได้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรอบต้องเอาตัวระบบเป็นหลักก่อน ถ้ามาแก้ไขเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มบุคคลแต่ไม่ได้ทำให้ระบบดีขึ้นก็ คงไม่ทำ ดังนั้นต้องมีคำตอบที่ชัดเจนว่าระบบดีขึ้นอย่างไร และเป็นไปได้ว่าในที่สุดก็ต้องกลับไปถามประชาชน เพราะมีการพูดกันว่าในประเด็นที่ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันสูงก็ต้องใช้ กระบวนการไปสอบถามประชาชน ส่วนจะทำในรูปแบบใดนั้นยังไม่ลงรายละเอียด ตอนนี้ต้องเปิดกว้างเอาทุกข้อเสนอมาวางบนโต๊ะ
"ผมจะไม่ยึดประโยชน์ของกลุ่มคนแต่จะยึดประโยชน์ของส่วนรวม และทุกอย่างที่จะทำต้องมีเหตุผลและตอบคำถามได้ ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่ควรทำ สิ่งที่ต้องการในขณะนี้คือข้อเรียกร้องที่เกี่ยวข้องกับระบบและการปฏิรูปการ เมืองก็สามารถเสนอมาได้ จะได้นำมาพิจารณากันบนโต๊ะ ไม่ไปพูดในลักษณะคนละทีแล้วเก็บไปเป็นเงื่อนไขในการสร้างความขัดแย้งในบ้าน เมือง"นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยัน
เมื่อถามว่าได้กำหนดเวลาหรือไม่ว่าจะได้ใช้เวลาเท่าไหร่กระบวนการจึงจะ สำเร็จ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของพรรคการเมืองต่างๆที่คุยกันไว้ 2 สัปดาห์ก็ควรต้องพร้อม จากนั้นก็มาดูว่าหลังจากนั้นประเด็นมีความซับซ้อนมากน้อยแค่ไหน และกระบวนการควรเป็นอย่างไรต่อไป ที่ผ่านมารัฐบาลก็พยายามให้องค์กรที่มีความเป็นกลางดำเนินการแต่ไม่ได้รับ การยอมรับ
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสถาบันพระปกเกล้าที่จะให้มาเป็นตัวกลางในกระบวนการปฏิรูปการเมือง ก็ยังไม่ได้ตัดทิ้งไป เมื่อเช้า( 20 เม.ย.) ก็เพิ่งคุยกับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาสถาบันพระปกเกล้าว่ายังไม่ได้ทิ้งไป เพียงแต่ตอนนี้ได้เร่งให้พรรคการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นว่าจะเอาอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่าในทางกลับกันระหว่างที่นายกรัฐมนตรีต้องการสร้างความ สมานฉันท์แต่ทั้งโฆษกพรรคประชาธิปัตย์และโฆษกส่วนตัวกลับมีท่าทีตรงข้ามจะ แก้ปัญหาอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในการประชุมพรรควันนี้ก็จะพูดกันอีกครั้ง และตนก็เพิ่งโทรศัพท์ไปบอกว่าให้ระมัดระวังในการให้สัมภาษณ์
เมื่อถามว่าถ้าทุกอย่างเรียบร้อยจะนำไปสู่การยุบสภาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว วันนี้ต้องมาดูกระบวนการกันก่อว่าจะแก้ไขอย่างไร เรื่องการยุบสภาจะไหตอบล่วงหน้าไม่ได้ เพราะเป้าหมายคือการมาแก้ไขที่ตัวระบบจึงต้องเอาเรื่องนี้เป็นหลักก่อน หลังจากนั้นจะเป็นอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าคาดว่าจะยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้เมื่อไหร่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้เหลือในเรื่องการคลี่คลายคดีความบางอย่าง รวมทั้งการใช้กลไกบางอย่างที่จะไปพูดคุยเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย เจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านนี้ขอเวลา ซึ่งตนคิดว่าอีกไม่นาน อีกไม่กี่วัน เมื่อถามถึงการดำเนินการกับแกนนำ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของแกนนำคดีเหล่านี้ก็ไม่สามารถจบลงในช่วงนี้ได้ คดีก็ต้องเดินของมันต่อไป
ต่อข้อถามว่าดูเหมือนขณะนี้รัฐบาลไล่ล่าตามจับแกนนำกลุ่มเสื้อแดงใน พื้นที่ต่างจังหวัด ทั้งที่พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ครอบคลุม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ได้อาศัยอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อถามย้ำว่าแต่ดูเหมือนรัฐบาลจงใจจะจับกุมฝ่ายค้านให้เข้าคุกทั้งหมด นายกรัฐมนตรี กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ใช่ ยืนยันว่าไม่มีเรื่องของการไล่ล่า ไล่รุกทางการเมือง เพียงแต่ใครก็ตามที่มีส่วนก่อความไม่สงบก็มีความผิดทางอาญา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่ได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ยิ่งชัดเจนว่าเป็นความผิดทางอาญาเท่านั้นถึงจะไปดำเนินได้ ตนต้องการให้เห็นชัดว่าการทำความผิดทางอาญากับการทำความผิดทางการเมืองไม่ เหมือนกันแน่นอน
"ผมได้ให้นโยบายไว้ชัดเจนว่าเรื่องการเมืองและการแสดงความเห็นที่แตกต่าง ทางการเมืองนั้นทำได้ แต่ความผิดทางอาญาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่มีใครสามารถที่จะอ้างเหตุผลทางการเมืองไปทำความผิดทางอาญา เช่น ไปยุยงให้เกิดความรุนแรงนั้นทำไม่ได้ เพราะบ้านเมืองจะไม่มีทางสงบ"นายกรัฐมนตรีกล่าว
เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ที่พรรคเพื่อไทยเตรียมยื่นเรื่องให้ดีเอสไอตรวจ สอบ กรณีการดำเนินการสลายการชุมนุมของรัฐบาลและทหาร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่กังวล การตรวจสอบสามารถทำได้ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นอำนาจของดีเอสไอหรือ เปล่า เมื่อถามว่าเป็นห่วงหรือไม่ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังนำเรื่องทหารยิงประชาชนระหว่างการชุมนุมไปขยายความในต่างประเทศ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็เคยเห็นว่านำรูปไปแสดง รัฐบาลก็ชี้แจงแล้ว และคิดว่าขณะนี้ต่างประเทศก็มีความเข้าใจดีระดับหนึ่งแต่ก็จะมีการชี้แจงต่อ เนื่อง